วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่6

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19/07/56
เรียนครั้งที่6 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:40
................................................................
วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องของ (ทฤษฏีที่มีอิทธิพลการสอนภาษาธรรมชาติ)
Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
(การสอนภาษาธรรมชาติ)
- สอนแบบบูรณาการ / องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรมอื่นๆ
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง การสะกด
- ไม่บังคับให้เด็กเขียน
1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์
- หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาไทยที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื่นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุงมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและการเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมาย
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็ก เห็นว่าการอ่านการเขียนนั้นเป็นเรื่องที่สนุก เป็นต้น
4. การตั้งความคาดหวัง
- ครูต้องมีความเชื่อมั่น
5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
- เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนที่จะอ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง
- ในช่วงเวลาเรียนไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียว
- ไม่ทำกิจกรรมตามขั้นตอน
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
- ให้เด็กปลอดภัยในการใช้ภาษา เป็นต้น
และสุดท้ายก่อนปล่อย อาจารย์ได้บอกและทำตัวอย่างให้ดูในการกลับไปแก้ไข blog โดยใสชื่อ เลขที่ ชื่ออาจารย์นั้นเอง 
**บรรยากาศในห้องเรียนก่อนกลับบ้าน :D
..............................….............................
จบแล้วค่ะ :)
นางสาว วรัญญา ตุลา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น