วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่6

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19/07/56
เรียนครั้งที่6 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:40
................................................................
วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องของ (ทฤษฏีที่มีอิทธิพลการสอนภาษาธรรมชาติ)
Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
(การสอนภาษาธรรมชาติ)
- สอนแบบบูรณาการ / องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรมอื่นๆ
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง การสะกด
- ไม่บังคับให้เด็กเขียน
1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์
- หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาไทยที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื่นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุงมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและการเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมาย
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็ก เห็นว่าการอ่านการเขียนนั้นเป็นเรื่องที่สนุก เป็นต้น
4. การตั้งความคาดหวัง
- ครูต้องมีความเชื่อมั่น
5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
- เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนที่จะอ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง
- ในช่วงเวลาเรียนไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียว
- ไม่ทำกิจกรรมตามขั้นตอน
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
- ให้เด็กปลอดภัยในการใช้ภาษา เป็นต้น
และสุดท้ายก่อนปล่อย อาจารย์ได้บอกและทำตัวอย่างให้ดูในการกลับไปแก้ไข blog โดยใสชื่อ เลขที่ ชื่ออาจารย์นั้นเอง 
**บรรยากาศในห้องเรียนก่อนกลับบ้าน :D
..............................….............................
จบแล้วค่ะ :)
นางสาว วรัญญา ตุลา




บันทึกอนุทินครั้งที่5

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  12/07/56
เรียนครั้งที่5 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:40
................................................................
ในวันนี้พอเริ่มต้นเรียน อาจารย์ก็แจกกระดาษแล้วบอกว่าให้วาดรูประบายสี สิ่งของอะไรก็ได้ ที่รักและติดมากๆในตอนวัยเด็ก ซึ่งอาจารย์ก็ให้เวลาทำพอสมควร สักพัก เมื่อเพื่อนๆเริ่มทำเสร็จแล้วนั้น อาจารย์ก็บอกว่าให้นักศึกษาทุกคนออกมาพูดเกี่ยวกับสิ่งที่เราวาดว่ามีที่มาที่ไปยังไงถึงชอบและรักมาก 
**ดูภาพประกอบได้เลยค่ะ
**ภาพข้างบนน่ะค่ะ เป็นภาพตุ๊กตาผู้หญิงเป็นตุ๊กตาไม้ค่ะ สามารถงอแขน ขา ผม ไปมาได้ค่ะ พ่อกับแม่ซื้อให้ค่ะ จำได้ว่าเป็นช่วงวัยอนุบาลค่ะ ดูรูปเก่าๆตอนเราเป็นเด็กนั้นจะเห็นเจ้าตุ๊กตานี้ติดตัวตลอดเวลานั้นเองค่ะ ปัจจุบันก็ยังอยู่ค่ะ เก็บไว้ในตู้เป็นอย่างดี >.<~
ต่อมาอาจารย์ก็สอนเรื่ององค์ประกอบของภาษาและเข้าเนื่อหาเกี่ยวกับ(แนวคิดทางการศึกษา)
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
Skinner - สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา ให้ความสัมคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
John B.Watson - ทฤษฏีการวางเวื่อนไขแบบคลาสสิก - การวางเงื่อนไขพฤติกรรมเด็ก
(นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า)
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยทางสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เลียนแบบพฤติกรรม
- ได้รับแรงเสริม ทำให้เด็กเลียนแบบ
2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาทางสติปัญญา
Piaget - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
Vygotsky - คล้ายPiaget ต่างตรงที่ให้ความสำคัญกับบุคคลรอบๆตัวเด็ก เน้นบทบาทของผู้ใหญ่ให้เด็กได้เรียนรู้
3. แนวคิดกลุ่มพัฒนาความพร้อมขิงร่างกาย
Arnold Gesell - เน้นทางความพร้อมทางด้านร่างการ การใช้ภาษาผ่านทางร่างการในการสื่อสาร
4. แนวคิดกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่เกิด
Noam Chomsky - ภาษาติดตัวมาแต่เกิด
O.Hobart Mowrer 
- คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ
ความสามรถในการฟัง และความเพลิดเพลินจากการได้ยินผู้อื่น และเสียงตัวเองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางด้านภาษา
- แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเป็นต้น
................................................................
จบแล้วค่ะ :)
นางสาว วรัญญา ตุลา



บันทึกอนุทินครั้งที่4

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  05/07/56
เรียนครั้งที่4 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:40
................................................................
จากการสั่งงานกลุ่มคราวก่อน ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มออกมาพรีเซนต์งานแต่ล่ะกลุ่ม เพื่อนๆก็ออกไปพรีเซนต์งาน มีทั้งพูดอธิบาย มีภาพประกอบ มีวีดีโอประกอบเป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และได้ความรู้มากมายจริงๆ สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนทั้งปัจจุบันและอนาคตเลย ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ทำเรื่อง พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กแรกเกิดถึง2ปี นั้นเอง ดิฉันได้เป็นตัวแทนอีกคนของกลุ่มออกไปรายงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งก็อธิบายในเรื่องของการใช้ภาษาของเด็กวัยช่วงนี้ ว่าเป็นยังไงนั้นเอง และก็มีวีดีโอประกอบค่ะ
สุดท้ายนี้อาจารย์ได้บอกว่าครั้งหน้า จะเรียนเรื่ององค์ประกอบของภาษา เป็นต้น
................................................................
จบแล้วค่ะ :)
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่3

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  28/06/56
เรียนครั้งที่3 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน - เวลาเลิกเรียน -
................................................................
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับกิจกรรมรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัย
** จึงได้เก็บภาพระหว่างรับน้องของมหาวิทยาลัยมาให้รับชมในจำนวนหนึ่งค่ะ :)
เป็นภาพที่ปี2โดนทำโทษค่ะ :(
เช่นเดิมค่ะปี2โดนนอนตากแดด :(
ปี2โดนทำโทษโดยการกลิ้งค่ะ :(
ถ่ายรูปกับน้องรหัสค่ะ น้องเจนปี1:D
แต่งหน้าให้น้องเจน น้องรหัสค่ะ >//<
รูปนี้ถ่ายกับพี่รหัสค่ะ พี่ส้มปี3 :D
3รูปนี้เป็นรูปที่ถ่ายกับเพื่อนๆหลังจากเสร็จรับน้องค่ะ ทั้งสนุก และเหนื่อยมากค่ะ >//<  
(ตอนรับน้อง รับหน้าที่อยู่ที่ซุ้มเอก เลยมีรูปน้อย พี่ปี3-4-5 อยู่ด้วย ถ่ายรูปไม่ค่อยได้ค่ะ โดนทำโทษตลอด ฮ่าาๆๆ) 
................................................................
จบแล้วค่ะ :)
นางสาว วรัญญา ตุลา


บันทึกอนุทินครั้งที่2

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  21/06/56
เรียนครั้งที่2 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน15:30
................................................................
ในคาบเรียนที่2 อาจารย์ได้สอนเข้าเนื้อหา ในเรื่องของภาษาหมายถึงอะไร? ทักษะการใช้ภาษา 
(ความสำคัญของภาษา)
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. เครื่องมือในการเรียนรู้
3. เครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ช่วยจรรโลงจิตใจได้นั้นเอง
(ทักษะทางภาษาประกอบด้วย)
ฟัง พูด อ่าน เขียน
 และเข้าเจาะลึกไปที่ทฤษฏีของ piaget ในเรื่องของพัฒนาการด้านภาษาและสติปัญญา การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ
(พัฒนาการด้านภาษาและสติปัญญา มี2กระบวนการคือ)
1. การดูดซึม
การที่เด็กเรียนรู้ และดูดซึมภาพจากสิ่งแวดล้อมเป็นประสบการณ์ของตัวเด็กเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
(พัฒนาการภาษาของเด็ก)
- เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และความเข้าใจเป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง
ต่อมาอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้ตัวแทนห้องออกไปพูดประโยคนั้นเอง (สุดท้ายอาจารย์ได้สอนเรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้)
1. ความพร้อม
2. ความแตกต่าวระหว่างบุคคล
- อิทธิพลทางพันธุกรรม - อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3. การจดจำ
- การเห็นบ่อยๆ - การทบทวนเป็นระยะ
- การจัดเป็นหมวดหมู่ - การใช้คำสัมผัส
4. การให้แรงเสริม
................................................................ 
จบแล้วค่ะ :)
นางสาว วรัญญา ตุลา